วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ


การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

 การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน  จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ  เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน
1.  การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
     1.1  การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก  และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา  เช่น  ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน  ข้อมูลประวัติบุคลากร  ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง  การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ  เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกันตรวจสอบความถูกต้อง  ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้  หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข  การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี  เช่น  การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน
2.   การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
       2.1  การจัดแบ่งข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม  เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน  การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน  เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน  และแฟ้มลงทะเบียน  สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่สินค้า  และบริการ  เพื่อความสะดวกในการค้นหาตัวอักษร  หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา  ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล  เช่น  การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร  การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์  ทำให้ค้นหาได้ง่าย
     2.3 การสรุปผล  บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก  จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ  เพื่อนำไปใช้ประโยชน์  ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า  เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
      2.4 การคำนวณ  ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก  ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้  ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย
      3.1  การเก็บรักษาข้อมูล  การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ  เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล  นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล  เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
     3.2 การค้นหาข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ  รวดเร็ว  จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน  ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
     3.3 การทำสำเนาข้อมูล  การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้  หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง  จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา  หรือนำไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย
     3.4 การสื่อสาร  ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย  การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งจะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
การพัฒนาระบบสารสนเทศ(Information System Development)

         การประกอบธุรกิจในปัจจุบันจะมีการแข่งขัน เพื่อชิงความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างรุนแรงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันก็คือการมีระบบสารสนเทศที่สมบรูณ์และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าผู้แข่งขัน ระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยจัดการและบริหารข้อมูลทั้งที่มีอยู่ในองค์กรและที่มาจากภายนอกองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยในการดำเนินงานและบริหารงานภายในองค์กรอย่างราบรื่นในสถานการณ์ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศที่จะสามารถจัดการและบริหารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง


ลักษณะสารสนเทศที่ดี


ลักษณะสารสนเทศที่ดี
1. เนื้อหา (Content)
·        ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
·        ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
·        ความถูกต้อง (accuracy)
·        ความเชื่อถือได้ (reliability)
·        ชัดเจน (clarity)
·      การตรวจสอบได้ (verifiability)
       2.รูปแบบ (Format)
·        ระดับรายละเอียด (level of detail)
·        รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
·        สื่อการนำเสนอ (media)
·        ความยืดหยุ่น (flexibility)·
  3. ประหยัด (economy)
·        เวลา (Time)
·         ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
·        การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
·        มีระยะเวลา (time period)
      4.   กระบวนการ (Process)
·        ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
·        การมีส่วนร่วม (participation)
·        การเชื่อมโยง (connectivity)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูง ติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์กร ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง และคาดคะเนแนวโน้มต่างๆ ในอนาคต
  ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System)  ระบบประกอบด้วย 3 ส่วน
·        ส่วนฐานความรู้ คือการนำเอาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งหรือหลายคนมาจัดทำเป็นฐานข้อมูล
·        ส่วนควบคุมการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่ทำหน้าที่จัดส่งข้อมูลที่รับเข้ารับผลการวิเคราะห์ไปดำเนินการต่อไป
·       ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับข้อมูลและส่งผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ไปยังส่วนของโปรแกรมที่ทำหน้าที่วิเคราะห์       

 

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อ้างอิง

กตติ  ภักดีวีัฒนะกุล.  (2546).  ระบบสารสนเทศ Information Systems.  กรุงเทพฯ :
             บริษัทเคพีคอมพ์แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด


กรมปศุสัตว์.  (2552).  บุคลกรของศูนย์สารสนเทศ.  สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2554  จาก 


ดวงแก้ว สวามิภักดิ์.  (2543).  ระบบฐานข้อมูล.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

ประสงค์ ปราณีตพลกรัง. (2541).  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรงเทพฯ :
             ธระฟิล์มและไซเทกซ์.

สุชาดา  กีระนันทน์.  (2541).  เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ : ข้อมูลในระบบสารสนเทศ.
           กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย






วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัตถุประสงค์ / ผู้จัดทำ

วัตถุประสงค์
             บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องระบบสารสนเทศ(information system)เพื่อนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน หรือเพื่อเป็นแหล่งศึกษาในการใช้ประโยชน์อื่นๆต่อไป

             ทั้งนี้บล็อกเรื่องระบบสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ (6313202)  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์อมรรัตน์ แซ่กวั่ง

              ผู้จัดทำ
              1.  นางสาวลัคนา     หลิมพานิชย์
              2.  นางสาวอรณิชา   ไวยวุฒิ
             นักศึกษาสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต