วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายและบทบาทของระบบสารสนเทศ

ความหมายและบทบาทของระบบสารสนเทศ
     ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) คือระบบแบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการเก็บ (นำเข้า), จัดการ (ประมวลผล) และเผยแพร่(แสดงผล) ข้อมูลและสารสนเทศและสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศประกอบด้วย ส่วนหลักดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูลและสารสนเทศ

    ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริง ต่างๆที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศจะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆอย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ
1.    ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูลป้อนเข้า
2.   การประมูลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้
3.  การจัดเก็บ เป็นวิธีที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และสามารถ แก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน

4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผลผลิตให้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร ฯลฯ
5.  สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้องการใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน




ประเภทของระบบสารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ
       ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป 
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541) 
             ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กรจะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
 1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
2.    ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
               3.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
              4.     ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด




คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
       ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
   1.  ความเที่ยงตรง (Accuracy) สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่ให้มีความคลาดเคลื่อนหรือมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ดังนั้นประสิทธิผลของการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้องหรือความเที่ยงตรง ย่อมส่งผลกระทบทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดตามไปด้วย
  2ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) นอกเหนือจากสารสนเทศขององค์การจะต้องมีความเที่ยงตรงหรือความถูกต้องแล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติของการที่สามารถนำสารสนเทศมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการบริหารทั้งภายในและภายนอกองค์การมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศด้านการขาย การผลิต ตลอดจนด้านการเงิน ถ้าผู้บริหารได้รับมาล่าช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตัดสินใจ หรือการดำเนินงานของผู้บริหารที่จะลดลงตามไปด้วย  
  3.  ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศขององค์การที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง การมีสารสนเทศที่มีปริมาณมาก ไม่ได้หมายถึงการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินงาน สารสนเทศที่มีมากเกินไปอาจเป็นสารสนเทศที่ไม่มีความสำคัญ เช่นเดียวกับการมีสารสนเทศที่มีปริมาณน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ไม่ได้สารสนเทศที่สำคัญครบเพียงพอทุกด้านที่จะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องรอให้มีสารสนเทศครบถ้วน 100เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะทำการตัดสินใจได้
    4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)สารสนเทศขององค์การที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่จะนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ดังนั้นในการที่องค์การจะออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การนั้น การสอบถามความต้องการของสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เช่น สนเทศในการบริหารการผลิต การตลาด และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) สารสนเทศที่ดีควรมีคุณลักษณะที่สามารถจะตรวจสอบได้โดยเฉพาะแหล่งที่มา การจัดรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้การตัดสินใจได้เกิดความรอบครอบการที่ผู้บริหารมองเห็นสารสนเทศบางเรื่องแล้วพบว่าทำไมจึงมีค่าที่ต่ำเกินไป หรือสูงเกินไป อาจต้องตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศที่ได้มา ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้การติดสินใจเกิดความผิดพลาด


ความสำคัญของระบบสารสนเทศ

ความสำคัญของระบบสารสนเทศ     
       การบริหารองค์กรใดๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ หรือภาคเอกชนนั้น จะต้องมีการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ ในการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรนั้นๆให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
สารสนเทศจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นขั้นพื้นฐานในการตัดสินใจและการวางแผน ตลอดจนการควบคุม ติดตามและประเมินผลแผนงานสารสนเทศนอกจากจะเป็นสิ่งที่จะช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจแล้ว ยังเป็นส่วนที่จะป้องกันการใช้ดุลยพินิจเฉพาะบุคคล(Subjective Judgernent) ได้ในระดับหนึ่ง ความสำคัญของระบบสารสนเทศนั้นสามารถจำแนกออกเป็นด้านต่างๆ ได้ดังนี้
1.    ความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการบริหาร สารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นเลือดของระบบซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบริหารงานในองค์กร จึงเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากสำหรับการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจ สำหรับผู้บริหารและนักวางแผนในปัจจุบัน ที่มีความสลับซับซ้อนของงานเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามความเจริญเติบโต ทั้งในขนาดและปฏิสัมพันธ์ขององค์กรกับปัจจัยต่างๆอาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยชี้แนะทิศทางที่ผู้บริหารจะเลือกดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการตัดสินใจที่ดีนั้นควรเป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักการและเหตุผล (Rationale Decision) ซึ่งอาศัยข้อมูลและสารสนเทศเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย แต่ถ้าผู้บริหารขาดสารสนเทศที่สามารถเรียกใช้ได้ทันเหตุการณ์ (Experience) และเจตคติ (Attitude) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการวางแผนการบริหาร
2.       ความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการวางแผน ในการวางแผนเพื่อการศึกษา และการวางแผนในการจัดการองค์กรต่างๆ นั้นจำอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวบรวมสถิติต่างๆ โดยมีจุดหมายที่จัดหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการวางแผน มาเพื่อประกอบการตัดสินใจที่ดีและให้เป็นอย่างถูกต้อง
3.    ความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจ ในการตัดสินใจใดๆ ถ้าหากได้พิจารณาในเชิงหลักการแล้วเป็นที่ยอมรับกันว่า การตัดสินใจที่ดีต้องเป็นการตัดสินใจโดยหลักและเหตุผล ซึ่งพบว่าวิธีการที่จะช่วยในการตัดสินใจนั้นต้องอาศัยสารสนเทศเป็นพื้นฐาน ดังที่เมอร์คิดและรอส (Murdick and Ross 1977 : 11)กล่าวว่า ความสำคัญของระบบสารสนเทศ คือ ผู้บริหารต้องการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในกระบวนการบริหาร เช่น การวางแผนการจัด องค์การและควบคุม
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าสารสนเทศเป็นความรู้ บุคคลหรือองค์กรใดได้รับสารสนเทศที่ถูกต้องรวดเร็วกว่ากันจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบ เพราะสามารถใช้สารสนเทศที่ได้รับมานั้นช่วยในการตัดสินใจเรื่องต่างๆได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ดังนั้นจึงเกิดปรากฎการณ์แข่งขันกันพัฒนาเครือช่ายสารสนเทศเพื่อให้บริการทั้งในเชิงพาณิชย์และให้เปล่า ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์รวมเข้ากับเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมจนกลายมาเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิตัล สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia)ซึ่งมีทั้งตัวเลข (Numeric) ตัวอักษร(Text) เสียง (Audio) ภาพนิ่ง (Still Picture) และภาพเคลื่อนไหว(Video) ซึ่งครบถ้วนที่มนุษย์จะสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ทำให้สารสนเทศแพร่กระจายไปยังทุกส่วนของโลกอย่างไร้พรมแดน (Borderless) ทำให้เกิดสังคมใหม่ของมนุษย์โลกซึ่งเรียกว่า สังคมสารสนเทศ (Information Society)หรือเรียกกันว่าสังคมที่สามหรือคลื่นลูกที่สามที่มีพัฒนาการ ต่อเนื่องมาจังสังคมเกษตรกรรม (Agricultural) และสังคมอุตสาหกรรม(Industrial Society) จนกลายเป็นยุคโลกาวิวัฒน์ (Globalization) ที่ทำให้ทุกประเทศชาติรวมตัวกันเสมือนหนึ่งเป็นหมู่บ้านเดียวกันหรือเรียกว่าหมู่บ้านโลก (Global Village) โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ที่เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบันทำให้เกิดโลกใหม่ที่เรียกว่า โลกไซเบอร์ (Cyber Space) ซึ่งเป็นตัวแทนของโลกที่อยู่ในรูปของดิจิตัล ซึ่งเต็มไปด้วยข้อมูลทางไฟฟ้าในรูปของบิท(Bit) และไบท์ (Byte) ที่สัมผัสได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ แตกต่างไปจากโลกของมนุษย์จะมีสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสามารถสัมผัสได้โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศดังที่เคยเป็นมา (ชุน เทียมทินกฤติ 2540 : 6-7)
  เทคโนโลยีสารเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบันและแนวโน้มมากโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคตเพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิตการจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ดังนี้ (สุนทร แก้วลาย.  2531 : 166)
1.    ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2.    ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
3.    ช่วยให้สามารถสารสนเทศไว้อยู่ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4.    ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดการประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
5.    ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6.    ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางโดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
   กระบวนการในการประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศนั้น  จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญด้วยกัน 6 อย่างที่ประสานกัน และแต่ละองค์ประกอบจะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน  องค์ประกอบต่าง ๆ มีดังนี้
1.    องค์ประกอบฮาร์แวร์ (Hardware) เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่อง  สามารถจับต้องได้  ได้แก่ วงจรไฟฟ้าในตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ เทป แป้นพิมพ์ ฯลฯ
2.     องค์ประกอบซอฟต์แวร์ (Software) เป็นกลุ่มคำซึ่งเรียกว่า โปรแกรม เพื่อเป็นการถ่ายทอดแนวความคิดของแต่ละคน เพื่อสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
3.       องค์ประกอบบุคลากร (Peopleware) เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
4.    องค์ประกอบข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  เพื่อทำการประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
5. องค์ประกอบระเบียบ,คู่มือและมาตราฐาน (Perceptionเป็นการกำหนดเกณฑ์ขั้นพื้นฐานให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้ถือปฏิบัติร่วมกัน
6.    องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูล (Data  Communication)เป็นกระบวนการสื่อสารและอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปถึงคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง